เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว

อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร​

045-791-099

ข้อมูลพื้นฐาน

(1) ลักษณะที่ตั้ง  เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร

(2) อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก

3) พื้นที่ เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว มีพื้นที่ประมาณ 1.25 ตร. กม. หรือประมาณ 781.25 ไร่

(4) ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ไม่อุ้มน้ำ

(5) ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์

(6) ประชากรจำนวน 1,379 ครัวเรือน  (หมู่ 1 = 516 คร. , หมู่ 2 = 862 คร.)

  • ประชากรทั้งหมด 4 ,313 คน ( ชาย 2,132 คน , หญิง 2,181 คน)
  • หมู่ที่ 1 (เฉพาะในเขตเทศบาลฯ) 1 ,690 คน (ชาย 848 คน , หญิง 842 คน )
  • หมู่ที่ 2 (เฉพาะในเขตเทศบาลฯ) 2,623 คน (ชาย 1,284 คน , หญิง 1,339 คน)
  • ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ 3 ,450 คน / ตร. กม. (ข้อมูล ณ 31 มกราคม 2555)

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(1) การคมนาคม มีรถยนต์วิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารทุกชั่วโมง มีเส้นทางที่สามารถ ติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

  • ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 23 ถนนแจ้งสนิท ทางทิศตะวันตกเชื่อมระหว่าง เทศบาลฯ กับจังหวัดยโสธร
  • ทางทิศตะวันออกเชื่อมกับอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2083 เชื่อมระหว่างเทศบาลฯ กับอำเภอมหาชนะชัย
  • ทางหลวงชนบทเส้นทาง รพช. เชื่อมระหว่างเทศบาลฯ กับตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว
  • เส้นทางภายในเขตเทศบาล ความยาวรวมทั้งหมด 11.156 กม. แยกเป็น ถนน คสล. ความยาวรวม 9.256 กม.
  • ถนนลาดยาง ความยาวรวม 1.6 กม.

(2) การไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าจากบริการของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอคำเขื่อนแก้วกระแสไฟฟ้าที่จำหน่ายออกไปส่วนใหญ่

จำหน่ายให้ประชาชนเพื่อใช้ในที่อยู่อาศัยประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน

(3) การประปา ใช้น้ำประปาจากบริการของสำนักงานการปาระปาส่วนภูมิภาคอำเภอมหาชนะชัย ซึ่งใช้แหล่งน้ำดิบจากลำน้ำชี

(4) การสื่อสารและโทรคมนาคม

  • มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
  • มีตู้โทรศัพท์สาธารณะบริการ 14 ตู้
  • มีโทรศัพท์คู่สายประมาณ 500 เลขหมาย
  • มีระบบเสียงตามสายหรือหอกระจายข่าวครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของเทศบาล ฯ

(5) ลักษณะการใช้ที่ดิน

  • พื้นที่พักอาศัย ประมาณ 510 ไร่
  • พื้นที่พาณิชยกรรม ประมาณ 44.55 ไร่
  • พื้นที่ตั้งหน่วยงานภาครัฐ ประมาณ 43 ไร่
  • พื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 10 ไร่
  • พื้นที่สวนสาธารณะ / นันทนาการ ประมาณ 3.7 ไร่
  • พื้นที่ตั้งสถานศึกษา ประมาณ 50 ไร่
  • พื้นที่ว่างเปล่าและอื่น ๆ ประมาณ 120 ไร่

ด้านเศรษฐกิจ

(1) โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ค้าขายและรับราชการ

(2) การเกษตรกรรม ลักษณะการประกอบการเกษตรกรรมอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ มีการปลูกพืชที่สำคัญ คือ ข้าว และพืชผัก

(3) การศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว มีสถาบันการศึกษาของอยู่จำนวน 5 แห่ง คือรัฐบาล 4 แห่ง

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว เป็นโรงเรียนระดับอนุบาล
  • โรงเรียนคำเขื่อนแก้ว เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา
  • โรงเรียนอนุบาลลุมพุก ( วันครู 2503) เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา
  • โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
  • เอกชน จำนวน 1 แห่ง
  • โรงเรียนอนุบาลแก้วปัญญาอุปถัมภ์ เป็นโรงเรียนระดับอนุบาล
  • ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนทั้งสี่แห่งสามารถรองรับและให้บริการทางการศึกษาแก่ชุมชนได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งมีศูนย์การเรียนชุมชน
  • จำนวน 2 แห่ง (ตั้งอยู่ที่ศาลาประชาคมบ้านลุมพุก หมู่ที่1,2)ที่สามารถให้บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป

(5) กีฬา นันทนาการ / การพักผ่อนหย่อนใจ

  • สนามบาสเก็ตบอล จำนวน 3 แห่ง
  • สนามฟุตบอล จำนวน 3 แห่ง
  • สนามกีฬาชุมชน จำนวน 2 แห่ง
  • สนามตะกร้อ จำนวน 7 แห่ง
  • สนามเด็กเล่น จำนวน 3 แห่ง
  • สวนสาธารณะ จำนวน 1 แห่ง
  • ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง

(6) สาธารณสุข

  • มีโรงพยาบาล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เป็นโรงพยาบาล ขนาด 60 เตียง
  • สำนักงานสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง
  • สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 3 แห่ง
  • ร้านเภสัชกร จำนวน 5 แห่ง
  • อัตราการใช้ส้วมและมีส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

(7) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  • สถิติไม่มีเพลิงไหม้ในรอบปีที่ผ่านมา
  • พนักงานดับเพลิง จำนวน 10 คน
  • รถบรรทุกน้ำดับเพลิงเอนกประสงค์ จำนวน 3 คัน
  • อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 40 คน
  • การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัยในปีที่ผ่านมา 1 ครั้ง
  • ออกระงับเหตุเพลิงไหม้ในเขตและนอกเขตเทศบาล 5 ครั้ง
  • การเตรียมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีการเตรียมพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง
  • หมายเลขโทรศัพท์รับแจ้งเหตุ 0-4579-1199

(8) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(1) ขยะมูลฝอย

  • ปริมาณขยะ 6 ตัน/ วัน
  • รถยนต์บรรทุกขยะ(แบบอัดท้าย) 3 คัน
  • พนักงานเก็บ ขน และกวาดขยะมูลฝอย จำนวน 8 คน
  • ถังรองรับขยะมูลฝอย 300 ใบ
  • ขยะที่เก็บขนได้ 6 ตัน/ วัน
  • ที่ดินสำหรับทิ้งขยะ ปัจจุบันขอใช้ที่ดินสำหรับกำจัดขยะร่วมกับเทศบาลเมืองยโสธร

(9) ทรัพยากรแหล่งน้ำ

  • ในเขตเทศบาลไม่มีแหล่งน้ำ

(10) ทรัพยากรป่าไม้

  • ในเขตเทศบาลไม่มีพื้นที่ป่าไม้

(11) สภาพแวดล้อม ในเขตเทศบาลที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป

  • ปัญหาฝุ่นละออง ปัญหาการท่วมขังของน้ำเสีย ปัญหาขยะมูลฝอย เป็นต้น